จิตรตรา วรรณมณี

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553



ใบงานที่ 8
ให้ผู้เรียนสรุปรายงานจากกลุ่มที่ 9-10-11-12 ลงในบล็อกของผู้เรียนอย่างย่อ ๆ


สรุปความรู้จากกลุ่มที่ 9
การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ-สารสนเทศ (Information) หมายถึงกลุ่มข้อมูลที่ถูกจัดการตามกฎหรือ ถูกกำหนดความสัมพันธ์ให้ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นเกิดประโยชน์หรือมีความหมายเพิ่มมากขึ้น-ขบวนการ (Process) หมายถึงการแปลงข้อมูลให้เปลี่ยนเป็นสารสนเทศหรือกล่าวได้ว่า ขบวนการคือกลุ่มของงานที่สัมพันธ์กัน เพื่อทำให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ-การจัดการ (Management) หมายถึงการบริหารอย่างมีระบบ ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดเป้าหมายและ ทิศทางขององค์กรและการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ซึ่งจะต้องมีการวางแผน การจัดการ การกำหนดทิศทางและการควบคุมเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม-ความหมายและบทบาทของระบบสารสนเทศระบบสารสนเทศ (Information System หรือ IS) คือระบบแบบเฉพาะเจาะจงชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นกลุ่มของส่วนประกอบพื้นฐานต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกันในการเก็บ (นำเข้า), จัดการ (ประมวลผล) และเผยแพร่(แสดงผล) ข้อมูลและสารสนเทศและสนับสนุนกลไกลของผลสะท้อนกลับ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์-วงจรการพัฒนาระบบขบวนการในการพัฒนาระบบเรียกว่าวงจรชีวิตในการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) โดยแต่ละระบบที่กำลังจะถูกสร้างขึ้นจะเริ่มขบวนการในการสร้างไปจนกระทั่งถึงกำหนดที่วางไว้และขั้นตอน สุดท้ายคือการติดตั้งระบบและเกิดการยอมรับระบบ ชีวิตของระบบยังรวมไปถึงขั้นตอนในการดูแลรักษาและการทดลองใช้ด้วย ถ้าระบบจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงภายใต้ข้อกำหนดของการดูแลรักษา ถ้าระบบเก่าจำเป็นต้องถูกแทนที่เนื่องจากมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้น หรือถ้าองค์กรมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนระบบ โครงงานใหม่และวงจรชีวิตของระบบก็จะเริ่มต้นขึ้น วงจรชีวิตของการพัฒนาระบบมักจะแบ่งออกเป็น 5 ระยะได้แก่ การศึกษาระบบ, การวิเคราะห์ระบบ, การ ออกแบบระบบ, การนำระบบไปใช้งาน และการดูแลรักษาระบบ ซึ่งแสดงวงจรชีวิตของการพัฒนาระบบที่เริ่มจากระยะที่หนึ่ง ไปจนกระทั่งถึงระยะสุดท้าย โดยในแต่ละระยะสามารถกลับมาเริ่มต้นทำระยะก่อนหน้าได้เสมอหากมีส่วนที่ต้องการแก้ไขเพิ่มเติม หรือปรับปรุง ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเป็นการรวมกลุ่มของฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, คน, ขบวนการ, ฐานข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อการจัดการกับข้อมูลและสารสนเทศช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้ โดยระบบสารสนเทศเพื่อการ จัดการจะช่วยให้ผู้จัดการมองเห็นภาพรวมของการปฏิบัติงานขององค์กร ทำให้สามารถควบคุมจัดการและวางแผน การปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ระบบสารสนเทศขององค์กร อาจประกอบด้วยระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านต่างๆ ในองค์กร เช่น ด้านการเงิน, การตลาด, การผลิตฯลฯ โดยแต่ละระบบต้องการข้อมูลเข้าที่แตกต่างกัน ประกอบด้วยระบบย่อยๆ ที่สนับสนุนการทำงานด้านนั้นๆ ที่แตกต่างกันและยังให้ผลลัพธ์ของระบบที่แตกต่างกันอีกด้วย ส่วนขั้นตอนของการพัฒนาระบบสารสนเทศ แต่ละระบบจะเป็นไปตามวงจรชีวิตของการพัฒนาระบบ โดยจะเริ่มที่การศึกษาระบบเพื่อค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้น
การวิเคราะห์ระบบ เพื่อเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและสิ่งที่ต้องพัฒนา, การออกแบบระบบ ซึ่งแบ่งออกเป็นการออกแบบเชิงตรรกะและการออกแบบทางกายภาพ เพื่อกำหนดวิธีการในการพัฒนาระบบ, การนำไปใช้ ได้แก่การพัฒนาระบบตามที่ได้ออกแบบไว้และนำระบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้และขั้นสุดท้ายเป็นการดูแลรักษา เพื่อตรวจสอบและแก้ไขระบบ เมื่อมีข้อผิดพลาดหรือมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้น

ใบงานครั้งที่ 7


ใบงานครั้งที่ 7
หากผู้เรียนเข้าใจการตกแต่งแล้วขอให้ผู้เรียนสรุปตามใบงานเขียนลงในเว็บบล็อกของผู้เรียนด้วย

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานครั้งที่ 6



ใบงานครั้งที่ 6ให้นักศึกษาศึกษาวัฒนธรรมองค์กรจากเอกสารและในInternet แล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังนี้

1.ความหมายวัฒนธรรมองค์กร คืออะไร
ตอบ วัฒนธรรมองค์กร หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่บุคคลในองค์กรหนึ่งปฏิบัติเหมือนๆ กันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์กรนั้น เกิดจากการเชื่อมโยง ผสมผสานกันระหว่างเจตนคติของบุคคล ค่านิยม ความเชื่อ ปทัสถาน และการกระทำของบุคคล ของกลุ่ม ขององค์กร นโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กร เทคโนโลยี สสภาวะของกลุ่มความสำเร็จขององค์กร จนเป็นที่ยอมรับของบุคคลในองค์กร

2.ทำไมหากเราไปเป็นครูสอนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เราควรจะศึกษาอะไรบ้างที่จะทำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ตอบ การที่คนเราจะอยู่ในสถานที่ใด สังคมใด เราควรที่จะศึกษาวัฒนธรรมของสิ่งเหล่านั้นให้ดีและปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมนั้นๆให้ได้ โดยมีลักษณะดังนี้
1.เราควรศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลศาสนาที่ประชาชนในที่นั้นนับถือ
2.เราควรศึกษาลักษณะอาชีพส่วนใหญ่ในพื้นที่
3.เราควรศึกษาประเพณี วัฒนธรรมที่มีในพื้นที่

3.รูปแบบวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ ในการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมนี้ จะเน้นการถ่ายทอดประสบการณ์ภายในสถานที่ทำงาน ท่ามกลางบรรยากาศของการปฏิบัติหน้าที่ประจำตามปกติโดยมีวิธีการปฏิบัติที่สำคัญ 4 วิธี
1. ใช้การเสวนา (Dialogue) ในการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นซึ่งกันและกัน โดยมีการปฏิบัติดังนี้
-เริ่มต้นด้วยหัวข้อของการเสวนา ให้กลุ่มมีการเสวนาร่วมกันคิดพิจารณากันเอง โดยไม่มีการกำหนดข้อสมมติฐานหรือทางเลือกใด ๆ ไว้ล่วงหน้า
-ในการเสวนาทุกครั้งให้เกิดประสิทธิภาพ สมาชิกแต่ละคนจะต้องมีความคิดและจิตใจที่เปิดกว้าง ยอมรับข้อคิดเห็นและเหตุผลของกันและกัน
-ห้ามนำเอา “อัตตา” และตำแหน่งหน้าที่การงาน มาใช้ในการเสวนา เพราะจะทำให้เกิดเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ร่วมกัน
2.ใช้การอภิปราย(Discussion)มีการจัดเตรียมข้อสมมติฐานและทางเลือกต่างๆไว้ล่วงหน้าเพื่อนำมาอภิปรายร่วมกัน
3. ใช้เทคนิคของการบริหารงานเป็นทีม (Team Management) เป็นเรื่องของการใช้ความสามารถของหัวหน้าทีมในความเป็นผู้นำ (Leadership) และความเข้าใจในจิตวิทยาของการบริหารทีมงาน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากผลสำเร็จ หรือความผิดพลาดร่วมกัน
4.ใช้เทคนิคของการบริหารโครงการธุรกิจ (Business Project Management) โดยหลักการบริหารมีหัวหน้าและสมาชิกในโครงการมีจุดเริ่มต้นและกำหนดแล้วเสร็จที่ชัดเจนมีกิจกรรมพร้อมผู้รับผิดชอบตลอดจนมีกระบวนการของการบริหารอย่างเป็นระบบ เช่น
- การประเมินงานโครงการ (Estimating
- การวางแผนงานโครงการ (Planning)
- การกำหนดกิจกรรมและเวลา (Scheduling)
- การปฏิบัติงานตามโครงการ(Implementation)
- การติดตามผลความก้าวหน้า (Tracking & Control)
- การปรับปรุงแก้ไข (Fine Tuning)
-การส่งมอบโครงการ (Hand Over)โดยสมาชิกทุกคนในองค์การจะมีโอกาสได้รับความรู้ความเข้าใจ ในงานทุกขั้นตอนโดยเท่าเทียมกัน

ใบงานครั้งที่ 5



ใบงานที่5
ท่านจะนำประเด็นต่อไปนี้ไปใช้ในการเป็นครูที่ดีได้อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
1.การอยู่ร่วมกันในหอพักนักศึกษา
ตอบ การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของนักศึกษานั้นจำเป็นต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันรู้จักเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ แบ่งปันแก่กัน มีความเสมอภาคกัน ทัดเทียมกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา คอยสอบถามทุกข์สุขซึ่งกันและกัน การแสดงน้ำใจอันดีต่อกัน คนเราเมื่อเกิดความเห็นใจกันแล้ว ก็พร้อมที่จะให้อภัยเมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น เราก็อยู่กันด้วยดี ต้องมีความจริงใจต่อกัน ตัวอย่างเช่นห้องเพื่อนข้างๆ น้ำไม่ไหลเราก็ชวนเพื่อนมาอาบน้ำห้องเราหรือถ้าเพื่อนในหอพักมีปัญหากัน เราก็พยายามพูดจูงใจให้เพื่อนดีกันหรืออาจจัดกิจกรรมในหอพักเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกันระหว่างสมาชิกในหอพัก
2.การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มตอบ การทำงานเป็นกลุ่ม คือ การร่วมกันทำงานของสมาชิกที่มากกว่า 1 คน โดยที่สมาชิกทุกคนนั้นจะต้องมีเป้าหมายเดียวกันจะทำอะไรแล้วทุกคนต้องยอมรับร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน การทำงานเป็นกลุ่ม มีความสำคัญ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารงาน การทำงานเป็นกลุ่มมีบทบาทสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือของกลุ่มสมาชิกเป็นอย่างดีตัวอย่าง เช่น เมื่ออาจารย์สั่งงานกลุ่มเราต้องช่วยเหลือเพื่อนหรือทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในกลุ่มให้ดีที่สุดและถ้าของเราทำเสร็จแล้วเราก็ช่วยงานของเพื่อนด้วย
เทคนิควิธีมนุษยสัมพันธ์ในการสร้างมิตร การแสวงหาวิธีการ ที่จะทำให้คนเรามีมนุษยสัมพันธ์มีความเป็นมิตรเกื้อกูลเอื้ออาทรกันนั้น มีหลักการช่วยส่งเสริมอยู่มากมาย ตัวอย่าง หากเราทะเลาะกันจะนำหลักการมนุษยสัมพันธ์ไปใช้ได้คือเราต้องใช้เหตุผลในการพูดพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง การโต้เถียงในสิ่งที่ไม่ใช่สาระหรือประเด็นสำคัญและที่สำคัญไม่ควรใช้อารมณ์มาตัดสินควรมีสติอยู่ตลอด

3.หากเราทะเลาะกันจะนำหลักการมนุษยสัมพันธ์ไปใช้ได้อย่างไรตอบ มนุษย์สัมพันธ์เป็นทั้งศาสตร์ทั้งศิลปะในการ สร้างความสัมพันธ์อันดีบุคคล เพื่อให้ได้มาซึ่งความรักใคร่ นับถือ ความจงรักภักดี ความร่วมมือ นักสุขภาพจิตให้ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ไว้ว่า “คือการอยู่ร่วมกับคนอื่นด้วยความสุข” แสดงออกทางพฤติกรรมระหว่างกันของบุคคลในทุกระดับของสังคม ซึ่งจะต้องใช้วิธีการที่แตกต่างกัน ดังนั้นมนุษยสัมพันธ์จึงเป็นศาสตร์ที่ต้องอาศัยวิทยาการหลายสาขาวิชามาบูรณาการกัน หลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์ โดยทั่วไปแล้ว เราควรจะเริ่มต้นด้วยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้

ใบงานครั้งที่ 4


ใบงานที่4 หลักการทำงานเป็นทีม

ให้นักศึกษาอธิบายในประเด็นดังนี้

1.หลักการของการทำงานเป็นทีมควรเป็นอย่างไร
ตอบ 1. การตั้งวัตถุประสงค์ของทีมงานอย่างชัดเจน วัตถุประสงค์เป็นจุดหมายที่เราจะต้องบรรลุให้ได้ เป็นเหมือนดวงดาวที่เราจะต้องร่วมกันฟันฝ่าไปถึงไม่ว่า จะยากเย็นเพียงใดก็ตาม เช่น เป็นผู้นำตลาดหรือเป็นบรรษัทธรรมาภิบาล เป็นต้น
2.การกำหนดขั้นตอนการทำงานของทีมงาน การทำงานเป็นทีมจะต้องเป็นระบบ ดังนั้น ต้องมีความชัดเจนว่าใครจะเป็นคนทำ ทำอะไร ทำที่ไหน ทำอย่างไร ทำทำไม และทำเมื่อใด
3. การกำหนดทิศทางของทีมงาน ทิศทางการทำงานของทีมจะแสดงถึงความมุ่งมั่น ความตั้งใจ และความแน่วแน่ของทีมงานในการทำงานให้ประสบ ความสำเร็จซึ่งถือเป็นการแสดงภาวะผู้นำของทีมงานด้วย
4.การสื่อข้อความ หรือการสื่อสารภายในทีมงาน เพราะการสื่อสารโดยเสรี จริงจังจริงใจ และปราศจากการปิดบังซ่อนเร้นจะทำให้การดำเนินงานของ ทีมงานชัดเจนโปร่งใส และตรวจสอบได้ทุกระยะ
5. การมีส่วนร่วมของสมาชิกในทีมงาน สมาชิกทุกคนเป็นทรัพยากรที่มีค่า และ แน่นอนว่าไม่มีใครจะเก่งทุกเรื่อง ดังนั้น การที่เราให้ทุกคนมีส่วนร่วมใน การทำงาน อย่างเต็มที่จะทำให้เกิดความผูกพันในทีมงานเป็นอย่างสูง
6.การบริหารเวลาของทีมงาน การบริหารเวลาเป็นเรื่องสำคัญมากการใช้เวลามากไปหรือน้อยไปล้วนแต่จะก่อให้เกิดผลเสียต่อทีมงาน การใช้เวลาที่ เหมาะสมอย่างเต็มประสิทธิภาพจะทำให้เกิดประสิทธิผลของงานอย่างเต็มที่
7.การตัดสินใจของทีมงาน การตัดสินใจของทีมงานย่อมมีผลผูกพันกับสมาชิกดังนั้น สมาชิกทุกคนจึงต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจด้วยจึงจะ เป็นการตัดสินใจที่ชอบด้วยเหตุและผล
8.การวิพากษ์การทำงานของทีมงานการวิพากษ์เป็นเครื่องมือที่จะช่วยปรับปรุงผลงานของทีมงานให้ดีขึ้นดังนั้นทีมงานที่ดี จึงควรที่จะให้ สมาชิกวิพากษ์ กระบวนการทำงานของทีม เพื่อหาข้อบกพร่อง และข้อควรปรับปรุงแก้ไข ต่อไป
9.การสร้างวัฒนธรรมของทีมงานวัฒนธรรมเกิดจากการประพฤติและการปฏิบัติร่วมกันของสมาชิกในทีมงานจนก่อเกิดเป็นเป็นวัฒนธรรมของทีมงานซึ่ง อาจเป็นวัฒนธรรมที่ดีหรือไม่ดีก็ได้ วัฒนธรรมที่ดีก็จะช่วยทำให้เกิดผลงานที่ดีด้วย
10.ความผูกพันของทีมงาน ทีมงานที่ดีจะสามารถสร้างพันธกิจร่วมกันให้สมาชิกเกิดความผูกพันกับทีมงาน และร่วมกันนำพาทีมงานให้ประสบความ สำเร็จอย่างยั่งยืน มิฉะนั้นก็จะเป็นเพียงทีมงานเฉพาะกิจที่อยู่ได้ไม่นานนัก


2.มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้การทำงานเป็นทีมประสบผลสำเร็จ
ตอบ 1. บรรยากาศของการทำงานมีความเป็นกันเอง อบอุ่น มีความกระตือรือร้น และสร้างสรรค์ ทุกคนช่วยกันทำงานอย่างจริงจัง และจริงใจ ไม่มีร่องรอยที่แสดงให้เห็นถึงความเบื่อหน่าย
2.ความไว้วางใจกัน (Trust) เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเป็นทีม สมาชิกทุกคนในทีมควรไว้วางใจซึ่งกันและกันได้ ซื่อสัตย์ต่อกัน สื่อสารกันอย่างเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน
3.มีการมอบหมายงานอย่างชัดเจน สมาชิกทีมงานเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยอมรับภารกิจหลักของทีมงาน
4.บทบาท(Role) สมาชิกแต่ละคนเข้าใจและปฏิบัติตามบทบาทของตน และเรียนรู้เข้าใจในบทบาทของผู้อื่นในทีม ทุกบทบาทมีความสำคัญ รวมทั้งบทบาทในการช่วยรักษาความเป็นทีมงานให้มั่นคง เช่น การประนีประนอม การอำนวยความสะดวก การให้กำลังใจ เป็นต้น
5.วิธีการทำงาน (Work Procedure) สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณา คือ 5.1 การสื่อความ (Communication) การทำงานเป็นทีมอาศัยบรรยากาศ การสื่อความที่ชัดเจนเหมาะสม ซึ่งจะทำให้ทุกคนกล้าที่จะเปิดใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จนเกิดความเข้าใจ และนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ 5.2 การตัดสินใจ (Decision Making) การทำงานเป็นทีมต้องใช้การตัดสินใจร่วมกัน เมื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกในทีมแสดงความคิดเห็น และร่วมตัดสินใจแล้ว สมาชิกย่อมเกิดความผูกพันที่จะทำในสิ่งที่ตนเองได้มีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น 5.3 ภาวะผู้นำ (Leadership) คือ บุคคลที่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น การทำงานเป็นทีมควรส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนได้มีโอกาสแสดงความเป็นผู้นำ (ไม่ใช่ผลัดกันเป็นหัวหน้า) เพื่อให้ทุกคนเกิดความรู้สึกว่าได้รับการยอมรับ จะได้รู้สึกว่าการทำงานเป็นทีมนั้นมีความหมาย ปรารถนาที่จะทำอีก 5.4 การกำหนดกติกา หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะเอื้อต่อการทำงานร่วมกันให้บรรลุเป้าหมาย ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีส่วนร่วม ในการกำหนดกติกา หรือกฎเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ร่วมกัน
6.การมีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงานของทีม ทีมงานควรมีการประเมินผลการทำงาน เป็นระยะ ในรูปแบบทั้งไม่เป็นทางการ และเป็นทางการ โดยสมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการประเมินผลงาน ทำให้สมาชิกได้ทราบความก้าวหน้าของงาน ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น รวมทั้งพัฒนากระบวนการทำงาน หรือการปรับปรุงแก้ไขร่วมกัน ซึ่งในที่สุดสมาชิกจะได้ทราบว่าผลงานบรรลุเป้าหมาย และมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด
7. การพัฒนาทีมงานให้เข้มแข็ง 7.1 พัฒนาศักยภาพทีมงาน ด้วยการสร้างแรงจูงใจทางบวก สมาชิกมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการจัดกิจกรรมสร้างพลังทีมงาน เกิดความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้ประสบผลสำเร็จ 7.2 การให้รางวัล ปัจจุบันการพิจารณาผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานไม่เอื้อต่อการทำงานเป็นทีม ส่วนใหญ่จะพิจารณาผลการทำงานเป็นรายบุคคล ดังนั้นระบบรางวัลที่เอื้อต่อการทำงานเป็นทีม คือ การที่ทุกคนได้รางวัลอย่างยุติธรรมทุกคน คือ ควรสนับสนุนการให้รางวัลแก่การทำงานเป็นทีมในลักษณะที่ว่างอยู่บนพื้นฐานการให้รางวัลกับกลุ่ม (Group base reward system)3.ในฐานะที่ท่านเป็นครูท่านจะนำวิธีการทำงานเป็นทีมไปประยุกต์ใช้กับการสอนได้อย่างไรตอบ ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นครูสอนวิชาคณิตศาสตร์ข้าพเจ้าจะให้นักเรียนแบ่งทีมแล้วให้การบ้านเพื่อที่จะให้นักเรียนฝึกทำงานเป็นทีมและที่สำคัญคือให้นักเรียนนั่งเรียนกันเป็นทีมโดยในทีมเพื่อนที่เก่งต้องช่วยเพื่อนที่ยังไม่เข้าใจในเรื่องที่เรียนด้วย เพื่อช่วยให้เด็กฝึกทักษะเพื่อนช่วยเพื่อนและฝึกทำงานเป็นทีมด้วย


3.ในฐานะที่ท่านเป็นครูท่านจะนำวิธีการทำงานเป็นทีมไปประยุกต์ใช้กับการสอนได้อย่างไร
ตอบในฐานะที่ข้าพเจ้าซึ่งต่อไปต้องเป็นครูข้าพเจ้าจะให้นักเรียนได้เห็นประโยชน์ของการทำงานเป็นทีมแล้วให้นักเรียนฝึกทำงานเป็นทีมในวิชาเรียนและที่สำคัญคือให้นักเรียนนั่งเรียนกันเป็นทีมโดยจะพยายามให้นักเรียนได้ประโยชน์จากการทำงานเป็นทีม ไม่ว่าจะช่วยให้การทำงานเป็นระบบที่ดี มีการแบ่งงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบทำให้งานบรรลุเป้าหมายตามที่กลุ่มและทีมงานรับผิดชอบ
ช่วยให้มีการนำหลักมนุษย์สัมพันธ์มาใช้ในกลุ่มและทีมงาน เช่น การรู้เรา รู้เขา เอาใจเขามาใส่ใจเรา งานของกลุ่มและทีมงานจะดำเนินไปด้วยดี
ช่วยให้เกิดรู้รักสามัคคีระหว่างสมาชิกของกลุ่มและทีมงาน ในการทำงานให้ประสานสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ช่วยสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานกลุ่มและทีมงาน ตามมาตรฐานการทำงาน โดยอาศัยกลุ่มหรือสภาพแรงงานเป็นตัวแทนให้แก่พนักงาน
ช่วยให้เกิดความมั่นคงในอาชีพเนื่องจากการทำงานเป็นกลุ่มหรือทีมงาน จะก่อให้เกิดความเป็นปึกแผ่นของมวลสมาชิกในกลุ่มหรือทีมงาน อันจะก่อให้เกิดความเกรงใจของคณะผู้บริหารที่มีต่อกลุ่มหรือทีมงาน
ช่วยให้เกิดความรู้สึกการยอมรับนับถือของสมาชิกในทีมงานที่เรียกว่า คารวธรรม มีการเคารพนับถือเป็นพี่เป็นน้อง ก่อให้เกิดการถ้อยทีถ้อยอาศัย ....
ทีมเพื่อนที่เก่งต้องช่วยเพื่อนที่ยังไม่เข้าใจในเรื่องที่เรียนด้วย เพื่อช่วยให้เด็กฝึกทักษะเพื่อนช่วยเพื่อนและฝึกทำงานเป็นทีมด้วย

ใบงานครั้งที่ 3


ใบงานที่3 ให้นักศึกษาอธิบายในประเด็นต่อไปนี้

1.ความหมายองค์กรและองค์การ
ตอบ องค์กร(Organ) หมายถึง บุคคล คณะบุคคล หรือสถาบันซึ่งเป็นส่วนประกอบของหน่วยงานใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกัน เช่น คณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารของรัฐ สภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กรของรัฐสภา ในบางกรณี องค์กร หมายความรวมถึงองค์การด้วยส่วนประกอบย่อยของหน่วยใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กัน หรือขึ้นต่อกันและกัน องค์การ(Organization) หมายถึง การเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมที่ร่วมประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยศูนย์รวมกลุ่มบุคคลหรือขนาดตัวอักษรกิจการที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยงานเดียวกัน เพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย หรือตราสารจัดตั้ง ซึ่งอาจเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น องค์การของรัฐบาล หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทจำกัด สมาคม หรือหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ สรุป องค์กรเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ

2.องค์ประกอบของการสื่อสาร
ตอบ องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
(1) ผู้ส่งสาร หรือผู้กำหนดสาร (Sender, Source Creator)
(2) สาร (Message, Information)
(3) สื่อ หรือพาหนะ หรือช่องทางในการนำสาร ส่งไป (Media หรือ Channel)
(4) ผู้รับสาร (Receiver)
(5) ปฏิกิริยา หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หลังส่ง-รับสาร (Feed Back)

3.การสื่อสารมีช่องสื่อสารอย่างไรบ้าง
ตอบ สื่อ (Medium) ที่เป็นตัวกลางและอนุญาตให้ข้อมูล/สารสนเทศผ่านจากจุดส่งถึงผู้รับในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง ปริมาณของข้อมูลที่ช่องทางการสื่อสารสามารถนำไปได้นั้น เรียกว่า ความจุของช่องทางการสื่อสาร หรือ แบนด์วิดธ์ (Bandwidth) ซึ่งนับเป็นจำนวนบิต (Bits) ต่อ 1 วินาที (bits per second : bps) สื่อที่ทำหน้าที่เป็นช่องทางการสื่อสาร ประกอบไปด้วยสายโทรศัพท์ (Telephone Line) เป็นช่องทางการสื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลาย ประกอบด้วยลวดทองแดงหุ้มด้วยฉนวน 2 เส้นพันบิดเป็นเกลียว เป็นสายสื่อสารที่ใช้ได้ทั้งในบ้านและในองค์กรธุรกิจ ซึ่งโดยทั่วไปองค์การโทรศัพท์ฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบในการให้บริการสื่อสารข้อมูลผ่านสื่อกลางชนิดนี้ บริการดังกล่าวได้แก่Voice-grade Service หมายถึง การสื่อสารข้อมูลในรูปของสัญญาณแอนะล็อก (Analog) บนสายโทรศัพท์ โดยมีโมเด็มเป็นเครื่องแปลงสัญญาณ มีแบนด์วิดธ์เท่ากับ 56 K bps โดยประมาณISDN (Integrated Services Digital Network) เป็นระบบเครือข่ายที่มีความเร็วและความจุของช่องสื่อสารสูงถึงประมาณ 128 K bps และยังสามารถแยกช่องสื่อสารเดียวกันออกเป็นช่องสื่อสารเสียง และช่องสื่อสารสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์Two-megabit Service เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่มีความเร็ว 2 M bps (2,000,000 bits per second) โดยผ่านโมเด็ม สามารถรับข้อมูลที่อยู่ในรูปของภาพเคลื่อนไหวในระบบวีดิทัศน์ รวมทั้งกราฟิกความเร็วสูง และการเข้าถึงสารสนเทศแบบ on line real-time ของผู้ใช้ ณ จุดต่างๆ ในระบบเครือข่ายสายโคแอกเซียล (Coaxial Cable) หรือที่รู้จักในนามของสายโทรทัศน์ (Cable Television) ประกอบด้วยลวดทองแดงหลายเส้นหุ้มด้วยฉนวนกันน้ำ จัดเป็นสายสื่อสารที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณสูง มีการรบกวนต่ำ นิยมใช้เป็นช่องสัญญาณแอนะล้อกผ่านทะเล มหาสมุทร และใช้เป็นช่องสัญญาณในระบบเครือข่ายแบบ LAN มีความจุประมาณ 100 M bps ซึ่จัดได้ว่าเป็นช่องสื่อสารที่มีความจุสูงมากสายใยแก้ว (Fiber Optic Cable) ประกอบด้วยหลอดหรือเส้นไฟเบอร์ขนาดเล็กจิ๋วเท่าเส้นผมมนุษย์ ภายในกลวงเพื่อให้แสงเลเซอร์วิ่งผ่าน เป็นสายสื่อสารที่มีความจุของช่องสื่อสารนับเป็นล้านล้านบิตต่อวินาที (Gbps) เนื่องจากใช้แสงในการนำส่งข้อมูลแทนการใช้สัญญาณไฟฟ้า จึงทำให้มีความเร็วในการนำส่งข้อมูลมากกว่าช่องทางการสื่อสารทุกชนิดสัญญาณไมโครเวฟ (Microwave Signals หรือ Radio Signals) เป็นช่องทางการสื่อสารไร้สายความเร็วสูง (High Speed Wireless) ส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟหรือสัญญาณวิทยุ โดยสัญญาณจะวิ่งเป็นเส้นตรง จึงต้องมีสถานีรับ-ส่งเป็นระยะๆ จากจุดส่งถึงจุดรับ สถานีขยายสัญญาณจึงมักตั้งอยู่บนที่สูงเพื่อไม่ให้มีสิ่งกีดขวางขณะส่งสัญญาณไปในอากาศจากข้อจำกัดของสัญญาณไมโครเวฟดังกล่าวนี้ จึงได้มีการพัฒนาดาวเทียม (Satellites)ขึ้นมาเพื่อส่งสัญญาณไมโครเวฟในระยะที่ห่างจากพื้นดิน โดยดาวเทียมจะทำการรับสัญญาณ จากสถานีภาคพื้นดินเพื่อขยายสัญญาณ ปรับความถี่ของคลื่น และส่งสัญญาณกลับลงมายังสถานีภาคพื้นดินหลายจุด ในบริเวณที่กว้างมาก เพื่อลดข้อจำกัดของไมโครเวฟ และที่สำคัญคือ ดาวเทียมสามารถสื่อสารข้อมูลจากแหล่งส่ง 1 แหล่งไปยังผู้รับจำนวนมากบนพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก

4.วัตถุประสงค์ของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ตอบ วัตถุประสงค์ของการสื่อสารมนุษย์ทุกคนมีความจำเป็นต้องอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่น และเพื่อให้การอยู่ร่วมกันนั้นดำเนินไปอย่างสันติสุข การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง โดยปกติมนุษย์จะใช้การสื่อสารเพื่อวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1.เพื่อแจ้งให้ทราบ หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะแจ้ง หรือบอกกล่าวข่าวสาร ข้อมูลเหตุการณ์ ความคิด ความต้องการของตนให้ผู้รับได้ทราบ 2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา เป็นการสื่อสารที่มุ่งจะให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านองค์ความรู้ ความคิด สติปัญญา จึงมุ่งเน้นไปที่การเรียนการสอน หรือการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการโดยเฉพาะ 3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจหรืออารมณ์ ความรู้สึกแก่ผู้รับสาร เช่น ทำให้เกิดความบันเทิง รื่นเริง สนุกสนาน เกิดความพอใจ เกิดความสุข ความสบายใจ เป็นต้น 4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ จะมุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม หรือยอมปฏิบัติตาม เช่น เปลี่ยนทัศนคติจากที่เคยไม่ชอบมาชอบได้ ฉะนั้น ผู้ส่งสารจึงต้องใช้วิธีการนำเสนอสารในรูปแบบของการแนะนำ ชี้แนะ หรือยั่วยุ และปลุกเร้าที่เหมาะสม

5.ในฐานะที่เป็นนักศึกษาครูจะนำวิธีการสื่อสารไปใช้ได้อย่างไร
ตอบ
ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นนักศึกษาครูซึ่งการสือสารให้นักเรียนเข้าใจตรงกับข้าพเจ้าเนื้อหาที่เราเอาไปใช้ในการสอน การสือสารจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดในการสอนและนำเทคโนโลยีใหม่ๆนำไปสื่อสารกับนักเรียน จะนำหลักการและวิธีการที่ดีมา ใช้ในการในการสือสารเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสารในการเรียนการสอน

ใบงานครั้งที่ 2



1. นักศึกษาให้ความหมาย ผู้นำ ผู้บริหาร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ ผู้นำ คือ บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นมา หรือได้รับการคัดเลือกให้เป็นหัวหน้า เป็นศูนย์กลาง เป็นผู้กำหนดเป้าหมาย ประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับบทบาท และขณะเดียวกันก็สามารถทำให้สมาชิกภายในกลุ่มปฏิบัติงานบรรลุผลสำเร็จเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ส่วนผู้บริหาร คือ ผู้ที่แบ่งงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตามความรู้ความสามารถ แล้วนิเทศงานอย่างเป็นระบบ พร้อมให้คำแนะนำอย่างเหมาะสม เพื่อให้งานบรรลุผลอย่างมีคุณภาพ
2. นักศึกษาสรุปบทบาทและภาระหน้าที่ของผู้นำ
ตอบ ภาวะผู้นำมีบทบาทที่แบ่งอย่างกว้างๆ ออกเป็น 4 ประการ
1.การกำหนดแนวทางหลัก (Pathfinding) ผู้นำควรเริ่มต้นด้วยการกำหนดเป้าหมายและแนวความคิดที่ชัดเจน
2.การสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผล (Aligning) การสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผลหรือการทำให้องค์การดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน คือการลงมือสร้างแผนหลักที่กำหนดขึ้นในขั้นตอนที่หนึ่ง ทุกระดับชั้นขององค์การควรมีการดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน
3.การมอบอำนาจ หากผู้นำมีการมอบอำนาจให้แก่พนักงานอย่างจริงจังจะทำให้บรรยากาศในการทำงานมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่มเกิดประสิทธิผลและเกิดผลลัพธ์ใหม่ๆที่สร้างสรรค์
4.การสร้างตัวแบบ (Modeling) หัวใจของการเป็นผู้นำคือต้องสร้างความน่าเชื่อถือ เพราะไม่เพียงแต่รู้ว่าจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างไรเท่านั้น แต่ผู้นำยังต้องมีคุณสมบัติของผู้นำที่ดีด้วย กล่าวคือ ต้องเข้าใจถึงความสำคัญของดุลยภาพระหว่างคุณลักษณะ (Characteristics) กับความรู้ความสามารถ เพราะไม่ว่าบุคคลจะมีความสามรถเพียงใดก็ไม่สามารถจะเป็นผู้นำที่แท้จริงได้ หากปราศจากซึ่งคุณลักษณะที่เหมาะสม

3. นักศึกษาจะมีวิธีการพัฒาภาวะผู้นำของนักศึกษาได้อย่างไร
ตอบ เนื่องจากการเป็นผู้นำที่ดีนั้น จะต้องพัฒนาตัวเองในทุกๆด้าน ทั้งในเรื่องของความรู้ ประสบการณ์ในการทำงาน การเข้าถึงจิตใจผู้อื่นและต้องทำตัวให้ทันสมัยทันเหตุการณ์อยู่เสมอ การพัฒนา ภาวะผู้นำอาจทำได้ ดังนี้
1. Learn on the job คือ เรียนจากงานที่ทำ ส่วนมากเวลาเราไปศึกษาดูงานจากสถานศึกษา มักจะดู Product (ผลงาน) มากกว่า เช่น เราไปดูโรงเรียนดีเด่น ผู้บริหารของโรงเรียนดีเด่น มักจะไม่ดูว่าเขาทำอย่างไรจึงได้รับความสำเร็จเป็นโรงเรียนดีเด่น คือเราไม่ดูกระบวนการ (Process) หรือ วิธีการ อย่าลืมว่า งานยิ่งท้าทายมากเท่าไรคนยิ่งใช้ความพยายามมากขึ้น คนยิ่งกระตือรือร้นยิ่งขึ้น เป็นการท้ายทายกระตุ้นความสามารถยิ่งขึ้น
2. Learn from people คือ เรียนจากผู้อื่น ผู้นำต้องพร้อมที่จะเรียน พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงที่ดี เก็บข้อดีของผู้อื่นมาปรับใช้กับตัวเอง
3. Learn from bosses คือ เรียนจากนาย เรียนจากคนที่เราเคารพรัก เพราะเขาเหล่านั้นจะเป็นแรงผลักดันให้แก่เราถ้าเราได้นายดี เราจะเรียนรู้อะไรมากมายจากนาย ตรงข้ามถ้านายเราไม่ดี เราก็พลอยแย่ไปด้วย ผู้นำที่ดีจะต้องเป็นนายที่ดีของลูกน้อง หรือผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย การเรียนจากบทบาทแบบอย่าง (Roles) จะทำให้ผู้นำพัฒนาภาวะผู้นำมากยิ่งขึ้น
4. Training and workshop คือ การฝึกอบรมและปฏิบัติการ เป็นสิ่งที่ผู้นำจะพัฒนาภาวะผู้นำของตัวเองได้ การฝึกอบรม (Training)

4. นักศึกษากล่าวถึงภาวะผู้นำสมัยใหม่จะต้องมีวิธีคิดอย่างไร
ตอบ 1. จะต้องมีความฉลาด (Intelligence) ผู้นำจะต้องมีระดับความรู้และสติปัญญาโดยเฉลี่ยสูงกว่าบุคคลที่ให้เขาเป็นผู้นำ ถึงแม้จะไม่แตกต่างกันมาก เพราะผู้นำจะต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
2. จะต้องวุฒิภาวะทางสังคมและใจกว้าง (Social maturity & achievement breadth) คือจะต้องมีความสนใจสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัว อย่างกว้างขวาง มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ จะต้องยอมรับสภาพต่าง ๆ ไม่ว่าแก้หรือชนะ ไม่ว่าผิดหวังหรือสำเร็จ
3. จะต้องมีแรงจูงใจภายใน (Inner motivation & achievement drive) ผู้นำจะต้องมีแรงจูงใจภายในสูง และจะต้องมีแรงขับที่จะทำอะไรให้ดีเด่น ให้สำเร็จอยู่เรื่อย ๆ เมื่อทำสิ่งหนึ่งสำเร็จก็ต้องการที่จะทำสิ่งอื่นต่อไป
4. จะต้องมีเจตคติเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ (Human relations attitudes) ผู้นำที่ประสบผลสำเร็จนั้น เขายอมรับอยู่เสมอว่า งานที่สำเร็จนั้นมีคนอื่นช่วยทำ ไม่ใช่เขาทำเอง
5. นักศึกษาคิดว่า ประสิทธิภาพของภาวะผู้นำที่ดีควรทำอย่างไรผู้นําที่ดีจะต้องยึดหลัก “ธรรม” เช่น พรหม วิหาร ๔ ธรรมาธิปไตย พละ ๔ และสัปปุริสธรรม ๗ เป็นต้น เป็นคุณธรรมสําคัญสําหรับการปฏิบัติ หน้าที่ของตน เพื่อให้สามารถดําเนินกิจการงานทุกอย่างให้บรรลุผลสําเร็จที่วางไว้และนําพา หมู่คณะและสังคมไปสู่ความสงบสุขและมั่นคงตลอดไป

ใบงานครั้งที่ 1


ทฤษฎีและหลักการจัดการบริหารการศึกษา

1. นักศึกษาให้คำนิยาม การบริหาร การบริหารการศึกษา
ตอบการบรหาร หมายถึง กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ (Sergiovanni) และมีระบบที่เหมาะสม
การบริหารการศึกษา หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่
2. นักศึกษาอธิบายคำว่าศาสตร์และศิลปะ ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ศาสตร์คือ สิ่งที่สามารถศึกษาได้อย่างเป็นระบบ มีระเบียบแบบแผน มีกฎเกณฑ์ หลักการและทฤษฎีที่เชื่อถือได้ เช่น การจัดการเรียนรู้ วิชาเรียนต่างๆ
ศิลปะคือ การนำเทคนิค วิธีการ กลเม็ดมาใช้หรือประยุกต์ใช้หรือการนำมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ เช่น การมีศิลปะในการพูด
3. นักศึกษากล่าวสรุปการวิวัฒนาการบริหารอย่างย่อ ๆพอสังเขป
ตอบ ทฤษฎีทางการบริหารและวิวัฒนาการการบริหารการศึกษา
ระยะที่ 1 ยุคนักทฤษฎีการบริหารสมัยดั้งเดิม แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มดังนี้
1.กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์ (Scientific Management)ของ เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ
1.1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection)
1.2 ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)
1.3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)
เทย์เลอร์ ก็คือผลผลิตของยุคอุตสาหกรรมในงานวิจัยเรื่อง “Time and Motion Studies” เวลาและการเคลื่อนไหว เชื่อว่ามีวิธีการการทางวิทยาศาสตร์ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เพียงวิธีเดียวที่ดีที่สุด เขาเชื่อในวิธีแบ่งงานกันทำ ผู้ปฏิบัติระดับล่างต้องรับผิดชอบต่อระดับบน เทย์เลอร์ เสนอ ระบบการจ้างงาน(จ่ายเงิน)บนพื้นฐานการสร้างแรงจูงใจ สรุปหลักวิทยาศาสตร์ของเทยเลอร์สรุปง่ายๆประกอบด้วย 3 หลักการดังนี้
1. การแบ่งงาน (Division of Labors)
2. การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierarchy)
3. การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment)
2. กลุ่มการบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี ฟาโยล์ (Henri Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน “จิตวิทยา” Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ ดร.วิชัย ตันศิริ ได้นำเสนอในหนังสือ อุดมการณ์ทางการศึกษาทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ดังนี้
2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)
2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด
2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป
2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff Division)
3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ (Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่กล่าวถึงหลักการบริหารราชการประกอบด้วย
3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย
3.2 การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
3.3 การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง
3.4 การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
3.5 มีระบบความมั่นคงในอาชีพ
จะอย่างไรก็ตามระบบราชการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในด้าน ข้อเสีย คือ สายบังคับบัญชายืดยาวการทำงานต้องอ้างอิงกฎระเบียบ จึงชักช้าไม่ทันการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน เรียกว่า ระบบ “Red tape” ในด้านข้อดี คือ ยึดประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก การบังคับบัญชา การเลื่อนขั้นตำแหน่งที่มีระบบระเบียบ แต่ในปัจจุบันระบบราชการกำลังถูกแทรกแซงทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ทำให้เริ่มมีปัญหา
ระยะที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1945 – 1958 ยุคทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation ) Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอการแก้ปัญหาความขัดแย้ง(Conflict) ไว้ 3 แนวทางดังนี้
1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง (ชนะ ชนะ) นอกจากนี้ Follette ให้ทัศนะน่าฟังว่า “การเกิดความขัดแย้งในหน่วยงานเป็นความพกพร่องของการบริหาร” การวิจัยหรือการทดลองฮอร์ทอร์น (Hawthon Experiment) ที่ เมโย(Mayo) กับคณะทำการวิจัยเริ่มที่ข้อสมมติฐานว่าสิ่งแวดล้อมมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของคนงาน มีการค้นพบจากการทดลองคือมีการสร้างกลุ่มแบบไม่เป็นทางการในองค์การ ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ที่ว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์ มีความสำคัญมาก ซึ่งผลการศึกษาทดลองของเมโยและคณะ พอสรุปได้ดังนี้
1. คนเป็นสิ่งมีชีวิต จิตใจ ขวัญ กำลังใจ และความพึงพอใจเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน
2. เงินไม่ใช่ สิ่งล่อใจที่สำคัญแต่เพียงอย่างเดียว รางวัลทางจิตใจมีผลต่อการจูงใจในการทำงานไม่น้อยกว่าเงิน
3. การทำงานขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมมากกว่าสภาพแวดล้อมทางกายภาพคับที่อยู่ได้คับใจอยู่อยาก* ข้อคิดที่สำคัญ การตอบสนองคน ด้านความต้องการศักดิ์ศรี การยกย่อง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานจากแนวคิด “มนุษยสัมพันธ์”*ระยะที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 – ปัจจุบัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 11) ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I. Barnard ) เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วมมือองค์การ และเป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน

4. นักศึกษาอธิบายทฤษฎีมาสโลว์ ทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎีX ทฤษฎีY
ตอบ ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์ (Douglas MC Gregor Theory X, Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน
ทฤษฎี X (The Traditional View of Directio and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
3. คนเห็นแก่ตนเองมากว่าองค์การ
4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
5. คนมักโง่ และหลอกง่าย ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
ทฤษฎี Y (The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน


5. ทฤษฎีอธิบายมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจ
ตอบ ทฤษฏีความต้องการ 5 ขั้นของอับราฮัม มาสโลว์ ได้แก่ ความต้องการด้านกายภาพ ความปลอดภัย ความต้องการด้านสังคม ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ และความต้องการสำเร็จสมหวังในชีวิตทฤษฏีความต้องการ 5 ขั้นของอีริค ฟรอมม์ มนุษย์มีความต้องการ 5 ประการ ได้แก่ มีสัมพันธภาพ สร้างสรรค์ มีสังกัด มีเอกลักษณ์แห่งตน และมีหลักยึดเหนี่ยวทฤษฏีการเสริมแรงของสกินเนอร์ การเสริมแรงของมนุษย์มีพื้นฐานอยู่บนปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ มนุษย์จะมีพฤติกรรมตามการเสริมแรงที่เกิดขึ้นกับตนและการทำงานของตน เป็นพฤติกรรมที่สามารถวัดหรือสังเกตได้ และการเสริมแรงที่เหมาะสมนั้นจะทำให้พฤติกรรมที่เป็นที่ต้องการมีเพิ่มขึ้น และที่ไม่ต้องการมีลดน้อยลงไป แบ่งเป็น การเสริมแรงทางบวก คือ การให้รางวัลในผลลัพธ์จากการกระทำที่ต้องการหรือปรับปรุงพฤติกรรม และการเสริมแรงทางลบ คือ การให้รางวัลจากการสามารถขจัดสิ่งที่ไม่ต้องการออกไปได้ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ โครงสร้างบุคลิกภาพของมนุษย์ ประกอบไปด้วยพลัง 3 ประการ ได้แก่ Id Ego และ Superegoทฤษฏีสององค์ประกอบของเฟรเดอริค เฮอร์ซเบิร์ก แรงจูงใจของมนุษย์เกิดขึ้นจากปัจจัยสองอย่าง ได้แก่ สิ่งทำให้เกิดความไม่พอใจและสิ่งที่ทำให้เกิด

ข้อมูลส่วนตัว


ชื่อ จิตรตรา วรรณมณี