จิตรตรา วรรณมณี

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ข้อสอบเพิ่มเติม

       จากที่เธอได้เรียนวิชาการจัดการชั้นเรียนโดยใช้WeblogหรือฺBlog ผู้เรียนเห็นว่าการใช้งานนี้มีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไร   ให้แสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ เพื่อจะนำไปพัฒนาใช้ในโอกาสต่อไป แสดงความคิดเห็นให้ก่อนสอบจะเป็นคะแนนช่วยเพิ่มเติ่ม


ตอบ จุดเด่น
- ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ในเนื้อหาของวิชาที่ใช้ weblog เป็นสื่อในการสอนเพิ่มขึ้น
- ไม่จำเป็นต้องเรียนในเฉพาะห้องเรียนครูกับนักเรียนก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
- ทำให้การเรียนการสอนน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ผู้เรียนไม่รู้สึกเบื่อหน่ายกับการเรียนวิชานี้
- ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการใช้ weblog นำไปประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในการเป็นครูในอนาคตได้ด้วย
- เป็นการเรียนที่สะดวกสบายต่อผู้สอนละผู้เรียน
- Weblogคือตัวแลกเปลี่ยนความรู้นอกห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพและยังเป็นการเรียนรุ้ที่ดีที่ไม่มีที่สิ้นสุด
- นักศึกษาบางคนที่ถนัดในเรื่องนี้ก็สามารถนำความรู้เรื่อง weblog ไปประกอบเป็นอาชีพเสริมได้ด้วย
- Weblog เป็นสื่อการเรียนที่กว้างไกล ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
- นอกจากเราจะได้ความรู้แล้ว เรายังสามารถเผยแพร่ความรู้ให้ผู้อื่นได้ศึกษาผ่าน weblog ของเราได้อีกด้วย
- การสร้าง weblog เป็นของตนเอง ยังเป็นการเก็บสะสมผลงาน และโชว์ผลงานของเราให้กับผู้อื่นได้ชื่นชมด้วย
- Weblogเป็นช่องทางใหม่ในการแสดงความสามรถ แสดงความคิดเห็น และผลงานทางความคิดให้ผู้สนใจหรือบุคคลอื่นได้เข้ามาศึกษาหาความรู้

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ข้อสอบปลายภาค

ข้อที่ 1 กรณีที่เกิดความวุ่ยวายของบ้านเมืองโดยเฉพาะผู้นำประเทศที่ผ่านมา ท่านในฐานะเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะแสดงความคิดเห็น อดีตนายกทักษิณ ทั้งข้อดีและข้อเสียของท่าน หากพิจารณาข้อดีและข้อเสียท่านจะนำมาสอนให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร
ตอบ  อันดับแรกวิเคราะห์ข้อดีของอดีตนายกทักษิณกล่าวเป็นข้อๆพอสังเขปได้ดังนี้
1.เป็นคนกล้าคิดกล้าตัดสินใจไม่ว่าจะโครงการใหญ่หรือเล็ก
2.เป็นคนที่มีความมุ่งมั่นจะทำอะไรแล้วก็ทำจนประสบผลสำเร็จ
3.มีวิสัยทัศน์ เป็นคนมองการไกลมองไปข้างหน้านำพาให้ประเทศเจริญก้าวหน้าขึ้น
ในส่วนของข้อเสียคือ
1. เป็นคนที่เจ้าอารมณ์ใจร้อนฉุนเฉียวพูดจาไม่ระมัดระวังจนหลายครั้งเกิดปัญหาตามมา
2. เป็นคนที่ค่อนข้างเผด็จการทางความคิดในบางครั้ง และ มีทิฏฐิสูง
3. เป็นคนที่เชื่อไสยศาสตร์มากไปตามที่เป็นข่าว
4. เป็นคนที่รวยแล้วแต่อยากรวยเพิ่มอีกจึงพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาจนป็นที่ครหาเรื่องการฉ้อโกง
    หากพิจารณาข้อดีและข้อเสียของอดีตนายกทักษิณสามารถนำมาสอนนักเรียนให้เกิดความคิดที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้คือนำในส่วนของข้อดีมาปรับใช้สอนเด็กฝึกให้เขากล้าคิดกล้าทำแต่มิใช่ตัดสินใจตามลำพังหรือเอาความคิดของตนเป็นหลักแต่ให้เขาคิดอย่างรอบคอบคิดอย่างมีเหตุผลและที่สำคัญต้องคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลักและถ้าคิดจะทำอะไรแล้วต้องทำให้เป็นจริงเป็นจังมุ่งมานะพยายามอย่างเต็มที่และต้องเป็นคนมีน้ำใจช่วยเหลือคนอื่นเพราะผู้นำต้องเป็นผู้เสียสละรู้จักการให้อภัยและมีความเข้มแข็ง อ่อนโยนแต่อย่าอ่อนแอต้องไม่ทนงตัวไม่ลำเอียงไม่เข้าข้างคนผิดและที่สำคัญต้องไม่คดโกงซึ่งจะทำให้ทุกคนมีความเชื่อใจและศรัธาในตัวเราซึ่งหากผู้นำเป็นเช่นนี้แล้วผู้ตามก็จะมีความสุขปัญหาก็จะไม่เกิด


ข้อที่ 2 การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่จะให้มีประสิทธิภาพท่านจะมีวิธีคิดอย่างไรหากท่านเป็นครูที่ดีควรเตรียมการเป็นที่ครูที่ดีอย่างไรให้ท่านแสดงความคิดเห็นของท่านเอง
ตอบ หากพิจารณาให้ดีจะพบว่า เด็กในวันนี้ คือ ผู้ใหญ่ ในวันข้างหน้า ดังนั้นอนาคตของประเทศชาติ จึงอยู่ในกำมือของ เยาวชน ที่จะเติบโตขึ้น ในขณะเดียวกัน อนาคตของ เยาวชน นั้น อยู่ในกำมือของ “ครู” ที่จะเสกสรร ปั้นแต่ง ให้สวยงาม เลิศหรู หรือ บูดเบี้ยวไร้ค่า ครู จึงเป็นเสมือนเบ้าหล่อหลอม หรือ แม่พิมพ์ที่จะทำให้ศิษย์ ได้รับการพัฒนาให้เป็น คน เต็ม คน คือ ได้รับการพัฒนาทั้งร่างกาย และจิตใจ อย่างสมบูรณ์แบบ
       ภาระหน้าที่ของครู จึงเป็นภาระที่หนัก เพราะการสร้างคนให้เป็นคน โดยสมบูรณ์นั้น จึงมิใช่เป็นเพียง การสอนหนังสือให้อ่านออกเขียนได้ และมีความรอบรู้เท่านั้น แต่ เป็นภาระความรับผิดชอบ ที่ผูกพันด้วยจิตวิญญาณอย่างต่อเนื่อง ที่ต้องอาศัยความเพียรพยายาม วิริยะ อุตสาหะ อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ครูที่ดี จึงต้องไม่เตรียม แค่การสอน แต่คนที่เป็นครูนั้น ต้องเตรียมทั้งกายและใจ ความคิด ประสบการณ์ ทั้งชีวิต เพื่ออุทิศ ทุ่มเทให้กับการสร้างคน เพื่อให้เป็น คนที่มีคุณภาพ และเมื่อคนมีคุณภาพ เราก็เชื่อมั่นว่า จะสร้างงานที่มีคุณภาพให้ชาติบ้านเมืองต่อไป
ครู สอนให้ศิษย์ มีความรู้ คือ รู้จัก คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ซึ่ง เป็นการเรียนรู้อย่างถาวร
ครู ขัดเกลาให้ศิษย์ รู้จักระงับยับยั้ง ควบคุมอารมณ์ ที่จะไม่ประพฤติในทางเสื่อม รู้จักอดกลั้นเอาไว้ให้ได้อย่างหนักแน่น คงเส้นคงวา รู้จักการรับรู้อารมณ์คนอื่น และรู้จักการให้อภัย
ครู อบรมให้ศิษย์ มีคุณธรรม จริยธรรม คือ สามารถละเว้นความชั่ว มุ่งมั่นทำความดี มีความยุติธรรม เชื่อมั่นศรัทธาในกุศลธรรม และกฎแห่งกรรม
ครู ชี้นำให้ศิษย์ มีความเพียรพยายาม ที่จะกล้าเผชิญกับความยากลำบาก มีมานะ บากบั่น อดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งปวง และ รู้จักแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ
      จากภาระสำคัญของผู้เป็นครู ดังกล่าว ครูจึงต้องมีกลวิธีที่แยบคายในการสอน ให้ศิษย์ ได้เกิดการ เรียนรู้ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง กลวิธีในการสอนที่บูรพาจารย์ เคยใช้กันมาตั้งแต่อดีต จนประสบผลสำเร็จ สามารถสร้างคนให้เป็นใหญ่เป็นโต มีหน้าที่การงาน ถึงขั้นเป็นผู้นำประเทศ มาแล้ว ก็คือ
ต้องแนะให้เขาทำ
ต้องนำให้เขาคิด
ต้องสาธิตให้เขาดู
ต้องให้เขาเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง
ต้องสลัดทิ้งความเคยชินเก่าๆ
ต้องทำตัวของเราให้เป็นแบบอย่าง

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 10


การจัดชั้นเรียนที่ดี
ความหมายของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน

ความสำคัญของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน

บรรยากาศในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความสนใจในบทเรียนและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น ที่ครูให้ความเอื้ออาทรต่อนักเรียน ที่นักเรียนกับนักเรียนมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรต่อกันที่มีระเบียบ มีความสะอาด เหล่านี้เป็นบรรยากาศที่นักเรียนต้องการ ทำให้นักเรียนมีความสุขที่ได้มาโรงเรียนและในการเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ถ้าครูผู้สอนสามารถสร้างความรู้สึกนี้ให้เกิดขึ้นต่อนักเรียนได้ ก็นับว่าครูได้ทำหน้าที่ในการพัฒนาเยาวชนของประเทศชาติให้เติบโตขึ้นอย่างสมบรูณ์ทั้งทางด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคม โดยแท้จริง ดังนั้น การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งประมวลได้ดังนี้

1.ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น เช่น ห้องเรียนที่ไม่คับแคบจรเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรม

2.ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน เช่น ห้องเรียนที่สะอาด ที่จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน นักเรียนจะซึมซับสิ่งเหล่านี้ไว้โดยไม่รู้ตัว

3.ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน เช่น มีแสงสว่างที่เหมาะสม มีที่นั่งไม่ใกล้กระดานดำมากเกินไป มีขนาดโต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะสมกับวัย รูปร่างของนักเรียนนักศึกษา ฯลฯ

4.ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดมุมวิชาการต่าง ๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของนักเรียน

5.ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เช่น การฝึกให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การฝึกให้มีอัธยาศัยไมตรีในการอยู่ร่วมกัน ฯลฯ

6.ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียนเพราะในชั้นเรียนมีครูที่เข้าใจนักเรียน ให้ความเมตตาเอื้ออารีต่อนักเรียน และนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันกล่าวโดยสรุปได้ว่า การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนจะช่วยส่งเสริมและสร้างเสริมผู้เรียนในด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคมได้เป็นอย่างดี ทำให้นักเรียนเรียนด้วยความสุข รักการเรียน และเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ในที่สุด

ใบงานที่9


บุคคลที่คุณคิดว่าเป็นผู้นำในทัศนคติของคุณ

พล.ต.จำลอง ศรีเมือง

ประวัติพล.ต.จำลอง ศรีเมือง เกิดวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 ที่ย่านสำเหร่ จังหวัดธนบุรี บิดามีอาชีพค้าปลาสดชื่อ สมนึก ชุณรัตน์ ส่วนมารดาชื่อ บุญเรือน ประกอบอาชีพแม่ค้าเร่ ตั้งแต่ จำลองยังแบเบาะบิดาได้เสียชีวิตลง และต่อมามารดาได้สมรสใหม่กับ โชศน์ ศรีเมือง ซึ่งเป็นที่มาของนามสกุล ศรีเมือง ที่ พล.ต.จำลองใช้ต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้ กับชื่อเล่น พล.ต.จำลองนั้นเดิมมีชื่อเล่นว่า “หนู” แต่พอเข้าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ก็ถูกเพื่อนฝูงตั้งให้ใหม่ว่า “จ๋ำ” ขณะที่ชื่อ “ลอง”นั้น เป็นชื่อเล่นที่คนอื่น ๆ ทั่วไปมักใช้เรียกขาน ส่วนที่ใคร ๆ เรียกกันว่า “มหา” เพราะอดีตนายทหารผู้นี้ใฝ่ทางธรรม เมื่อครั้งอุปสมบทก็ศึกษาทางธรรมอย่างจริงจัง และเพราะเคยออกมาระบุว่าตนเองปฏิบัติตนสมถะ นอนไม้กระดานแผ่นเดียว แม้แต่การอาบน้ำก็จะใช้น้ำเพียง 5 ขัน ก็เลยได้ฉายา “มหา 5 ขัน” และมีการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ คือ สวมเสื้อม่อฮ่อมเป็นประจำ โดยสวมมาตั้งแต่ พ.ศ. 2522 และไว้ผมสั้นเกรียน
ปัจจุบันส่วนตัว สมรสกับ พ.ต.หญิง ศิริลักษณ์ เขียวละออ โดยที่ไม่มีบุตรด้วยกัน ภายหลังได้ร่วมกันทำกิจกรรมสังคมหลาย ๆ อย่าง ทั้งด้านการปฏิบัติธรรม เรื่องการกิน
อาหารมังสวิรัติ ดูแลสุนัขจรจัด รวมถึงจัดตั้งโรงเรียนผู้นำ


การศึกษาหลังเรียนจบชั้น ม.6จึงตัดสินใจเลือกเข้าเรียนที่โรงเรียนเตรียมนายร้อยที่ก็สอบได้ และจบ จปร.รุ่น 7/2 เนื่องจากสมัยเป็นนักเรียนนายร้อย พล.ต.จำลองกับพวกไปจัดฉายภาพยนตร์หารายได้ซื้ออุปกรณ์กีฬาและดนตรีเข้าสโมสรนักเรียนนายร้อย แต่การกระทำดังกล่าวไปผิดในข้อหาขัดคำสั่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งขณะนั้นคือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในระหว่างประกาศกฎอัยการศึก จึงถูกปลดจากหัวหน้านักเรียนนายร้อยเป็นนักเรียนลูกแถว และถูกลงโทษให้รับกระบี่ช้าออกไป ไม่พร้อมกับเพื่อนร่วมรุ่นคนอื่น ๆ