ใบงานที่ 8
ให้ผู้เรียนสรุปรายงานจากกลุ่มที่ 9-10-11-12 ลงในบล็อกของผู้เรียนอย่างย่อ ๆ
สรุปความรู้จากกลุ่มที่ 9
การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ-สารสนเทศ (Information) หมายถึงกลุ่มข้อมูลที่ถูกจัดการตามกฎหรือ ถูกกำหนดความสัมพันธ์ให้ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นเกิดประโยชน์หรือมีความหมายเพิ่มมากขึ้น-ขบวนการ (Process) หมายถึงการแปลงข้อมูลให้เปลี่ยนเป็นสารสนเทศหรือกล่าวได้ว่า ขบวนการคือกลุ่มของงานที่สัมพันธ์กัน เพื่อทำให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ-การจัดการ (Management) หมายถึงการบริหารอย่างมีระบบ ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดเป้าหมายและ ทิศทางขององค์กรและการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ซึ่งจะต้องมีการวางแผน การจัดการ การกำหนดทิศทางและการควบคุมเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม-ความหมายและบทบาทของระบบสารสนเทศระบบสารสนเทศ (Information System หรือ IS) คือระบบแบบเฉพาะเจาะจงชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นกลุ่มของส่วนประกอบพื้นฐานต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกันในการเก็บ (นำเข้า), จัดการ (ประมวลผล) และเผยแพร่(แสดงผล) ข้อมูลและสารสนเทศและสนับสนุนกลไกลของผลสะท้อนกลับ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์-วงจรการพัฒนาระบบขบวนการในการพัฒนาระบบเรียกว่าวงจรชีวิตในการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) โดยแต่ละระบบที่กำลังจะถูกสร้างขึ้นจะเริ่มขบวนการในการสร้างไปจนกระทั่งถึงกำหนดที่วางไว้และขั้นตอน สุดท้ายคือการติดตั้งระบบและเกิดการยอมรับระบบ ชีวิตของระบบยังรวมไปถึงขั้นตอนในการดูแลรักษาและการทดลองใช้ด้วย ถ้าระบบจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงภายใต้ข้อกำหนดของการดูแลรักษา ถ้าระบบเก่าจำเป็นต้องถูกแทนที่เนื่องจากมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้น หรือถ้าองค์กรมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนระบบ โครงงานใหม่และวงจรชีวิตของระบบก็จะเริ่มต้นขึ้น วงจรชีวิตของการพัฒนาระบบมักจะแบ่งออกเป็น 5 ระยะได้แก่ การศึกษาระบบ, การวิเคราะห์ระบบ, การ ออกแบบระบบ, การนำระบบไปใช้งาน และการดูแลรักษาระบบ ซึ่งแสดงวงจรชีวิตของการพัฒนาระบบที่เริ่มจากระยะที่หนึ่ง ไปจนกระทั่งถึงระยะสุดท้าย โดยในแต่ละระยะสามารถกลับมาเริ่มต้นทำระยะก่อนหน้าได้เสมอหากมีส่วนที่ต้องการแก้ไขเพิ่มเติม หรือปรับปรุง ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเป็นการรวมกลุ่มของฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, คน, ขบวนการ, ฐานข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อการจัดการกับข้อมูลและสารสนเทศช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้ โดยระบบสารสนเทศเพื่อการ จัดการจะช่วยให้ผู้จัดการมองเห็นภาพรวมของการปฏิบัติงานขององค์กร ทำให้สามารถควบคุมจัดการและวางแผน การปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ระบบสารสนเทศขององค์กร อาจประกอบด้วยระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านต่างๆ ในองค์กร เช่น ด้านการเงิน, การตลาด, การผลิตฯลฯ โดยแต่ละระบบต้องการข้อมูลเข้าที่แตกต่างกัน ประกอบด้วยระบบย่อยๆ ที่สนับสนุนการทำงานด้านนั้นๆ ที่แตกต่างกันและยังให้ผลลัพธ์ของระบบที่แตกต่างกันอีกด้วย ส่วนขั้นตอนของการพัฒนาระบบสารสนเทศ แต่ละระบบจะเป็นไปตามวงจรชีวิตของการพัฒนาระบบ โดยจะเริ่มที่การศึกษาระบบเพื่อค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้น
การวิเคราะห์ระบบ เพื่อเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและสิ่งที่ต้องพัฒนา, การออกแบบระบบ ซึ่งแบ่งออกเป็นการออกแบบเชิงตรรกะและการออกแบบทางกายภาพ เพื่อกำหนดวิธีการในการพัฒนาระบบ, การนำไปใช้ ได้แก่การพัฒนาระบบตามที่ได้ออกแบบไว้และนำระบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้และขั้นสุดท้ายเป็นการดูแลรักษา เพื่อตรวจสอบและแก้ไขระบบ เมื่อมีข้อผิดพลาดหรือมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้น
สรุปความรู้จากกลุ่มที่ 10
การเขียนโครงการและการบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนและสถานศึกษาโครงการ คือเค้าโครงของกิจกรรมที่กำหนดไว้เพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาตามความต้องการของหน่วยงาน มีลักษณะเป็นแนวทางการดำเนินงานที่บอกถึงความเป็นมา วิธีหรือขั้นตอนการดำเนินงาน ทรัพยากรที่จะใช้ รวมถึงผลสำเร็จที่ต้องการให้เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้มีอำนาจอนุมัติ ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมองเห็นภาพตลอดแนวและมีทิศทางในการดำเนินงานเดียวกัน องค์ประกอบของโครงการ โครงการมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนนำและส่วนโครงการ ซึ่งจะนำเสนอ ดังต่อไปนี้
1. ส่วนนำ ส่วนนำโครงการ เป็นส่วนที่เขียนเพื่อให้เข้าใจว่า โครงการนี้ชื่ออะไร มีลักษณะอย่างไร ใครเป็นผู้รับผิดชอบ และจะดำเนินการเมื่อไร โดยปกติจะอยู่ส่วนต้นของการเขียนโครงการ ประกอบด้วย
1.1 ชื่อโครงการ การเขียนชื่อโครงการควรบอกได้ว่า จะทำอะไร ทำอย่างไร เรื่องอะไร กับใคร นิยมเขียนโดยขึ้นต้นด้วยคำนาม วิธีการ และตามด้วยเรื่องที่จะทำ เช่น “ การประชุมปฏิบัติการเขียนแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2552 ” เป็นต้น
1.2 แผนงบประมาณ เป็นการระบุที่มาของงบประมาณ ว่าโครงการนี้ ขอใช้งบประมาณในแผนใด เช่น “เงินงบประมาณ เงินอุดหนุน เงินนอกงบประมาณ ”
1.3 สนองกลยุทธ์ เพื่อให้ทราบว่า โครงการนี้ดำเนินงานตามกลยุทธ์ข้อใดของหน่วยงาน เช่น “กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบบริหารจัดการของโรสงเรียนให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ”
1.4 ผู้รับผิดชอบโครงการ ให้ระบุชื่อ สกุลของผู้รับผิดชอบโครงการ โดยจะระบุตำแหน่งด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น “นางแก้ว กัลยาณี หัวหน้ากลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม”
1.5 หน่วยงานที่รับผิดชอบ ควรระบุ ถึงระดับงาน เช่น “งานแผนงาน โรงเรียนเตรียมอุดม ศึกษาพัฒนาการดอนคลัง”
1.6 ลักษณะของโครงการ โดยทั่วไปจะมี 2 ประเภท ได้แก่
1.6.1 โครงการใหม่ คือโครงการที่จัดทำขึ้นใหม่ ในปีนั้น และสามารถดำเนินการได้เสร็จภายในปีงบประมาณเดียว
1.6.2.โครงการต่อเนื่อง คือโครงการที่มีลักษณะต่อเนื่องจากปีที่แล้วมา อาจเป็นโครงการที่ไม่สามารถ
2. ส่วนโครงการ เป็นส่วนที่กล่าวถึง เนื้อหาของการจัดทำโครงการ ประกอบด้วย
2.1 หลักการและเหตุผล ควรบอกถึงความเป็นมา เหตุผลความจำเป็นที่จะต้องจัดทำโครงการนี้ ซึ่งอาจมาจาก
2.1.1 นโยบายของรัฐ นโยบายของหน่วยเหนือ หรือนโยบายของหน่วยงานเอง
2.1.2 ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2.1.3 สภาพปัญหา
2.1.4 ความต้องการในการพัฒนา ควรเขียนให้กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ ประมาณ 15-25 บรรทัด และสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจและเห็นความสำคัญของการจัดทำโครงการได้ นิยมเขียนโดยภาพกว้างก่อน เช่น นโยบาย หรือปัญหา แล้วจึงลงมา ถึงตัวโครงการ
2.2 วัตถุประสงค์ เป็นหัวข้อที่สำคัญที่สุดของโครงการ ผู้อนุมัติโครงการจะพิจารณาความเหมาะสมของหัวข้อนี้เป็นพิเศษ ต้องเขียนให้ชัดเจนไม่คลุมเครือ มีความเป็นไปได้ วัดได้ เช่น “เพื่อให้คณะครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการดอนคลัง สามารถใช้เครือข่ายสารสนเทศ สำหรับการเรียนการสอนได้”
2.3เป้าหมายปัจจุบันนิยมเขียนโดยระบุปริมาณหรือคุณภาพที่ต้องการขั้นต่ำซึ่งอาจอยู่ในรูปของ จำนวน ร้อยละ หรือระดับคุณภาพ เช่น “จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้เครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษา ให้กับคณะครูโรงเรียนบ้านเปียงหลวง จำนวน 20 คน” หรือ “คณะครูโรงเรียน บ้านเปียงหลวง อย่างน้อยร้อยละ 80 สามารถใช้ระบบเครือข่ายในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนได้ในระดับดี” เป็นต้น
2.4 กิจกรรม / ระยะเวลา มีรูปแบบการเขียนหลายแบบ อยู่ที่ว่าผู้เขียนโครงการจะเลือกใช้แบบใด เช่น ตาราง แบ่งเป็นข้อ แต่จะต้องแสดงกิจกรรม ขั้นตอน ระยะเวลา การทำงานตามลำดับ ให้เห็นว่าจะทำกิจกรรมอะไรบ้าง เมื่อไร ผู้รับผิดชอบในแต่ละรายกิจกรรมคือใครไว้อย่างชัดเจน เพราะการเพิ่ม ลด งบประมาณจะพิจารณาเป็นรายกิจกรรม ดังนั้นจึงไม่ควรเขียนขั้นตอนหรือกิจกรรมที่กว้างเกินไป เช่น “1. เสนอโครงการ 2.อนุมัติโครงการ 3.ดำเนินการตามโครงการ 4.สรุปรายงานผล”เพราะการเขียนเช่นนี้จะไม่สามารถพิจารณาได้ว่าโครงการมีกิจกรรมอะไรบ้างเหมาะสมหรือไม่เพียงใด
2.5งบประมาณ ต้องบอกรายละเอียดของการใช้งบประมาณแต่ละรายการให้ชัดเจนถูกต้อง เช่น ค่าห้องประชุม กี่วัน วันละเท่าไร ค่าอาหารว่าง หรืออาหารกลางวัน กี่คน กี่วัน คนละเท่าไร ค่าเอกสารกี่เล่ม เล่มละเท่าไร รวมแล้วทั้งหมดเป็นงบประมาณที่จะขอใช้เท่าใด และต้องแยกรายการงบประมาณให้ถูกต้องตามหมวดค่าใช้จ่ายด้วย ได้แก่
- ค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ ค่าอาหารทำการนอกเวลา เป็นต้น
- ค่าใช้สอย เช่น ค่าจ้างเหมาบริการ เช่น อาหารว่าง อาหารกลางวัน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเช่น เบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ค่าที่พัก เป็นต้น
- ค่าวัสดุ เช่น วัสดุที่ใช้ในการฝึกอบรม และใช้ในการประชุม เช่น กระดาษ กรรไกร กาว แฟ้มเอกสาร เป็นต้น 2.6 การประเมินผล เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ทราบว่าโครงการประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด องค์ประกอบของการประเมินผล มีดังนี้
- ตัวชี้วัดความสำเร็จ เป็นตัวตอบคำถามว่าจะวัดความสำเร็จของโครงการจากอะไร เช่น จำนวน ร้อยละ หรือเวลา เช่น “ร้อยละของคณะครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการที่สามารถใช้เครือข่ายสารสนเทศได้ในระดับดี” เป็นต้น - วิธีการ ใช้วิธีการใดในการประเมินผลโครงการ เช่น การสำรวจความคิดเห็น การสังเกต การทดสอบ เป็นต้น
- เครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ควรสอดคล้องกับวิธีการ เช่น แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสำรวจความพึงพอใจ แบบสังเกต แบบทดสอบ เป็นต้น
2.7 ผลที่คาดว่าจะได้รับ ต้องเขียนให้เห็นว่าจากการทำโครงการนี้จะมีผลประโยชน์ใดเกิดขึ้นบ้าง อาจเป็นผลในเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ หรือผลลัพธ์ก็ได้ เช่น “เมื่อคณะครูโรงเรียนบ้านเปียงหลวงใช้เครือข่ายสารสนเทศในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนแล้วจะสามารถยกระดับคุณภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้นได้”ลักษณะของโครงการที่ดี
1. ต้องสอดคล้องและสนองต่อแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน
2. กระชับ ไม่เยิ่นเย้อควรอยู่ระหว่าง 3-7 หน้า
3. ใช้ภาษาที่เป็นทางการและเข้าใจได้ง่าย
4. มีความเป็นไปได้
5. วัดและประเมินผลได้
6. มีองค์ประกอบครบถ้วน
7. ใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ
8. คุ้มค่า
9. แก้ไขปัญหาได้จริง
10. สำเร็จตามเวลาที่กำหนดแนวปฏิบัติในการพัฒนาแผนปฏิบัติการของโรงเรียนเพื่อให้แผนปฏิบัติการของโรงเรียน เป็นแผนปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพซึ่งมีตัวชี้วัดคุณภาพ ดังนี้1. เป็นแผนปฏิบัติการที่อยู่ในกรอบกลยุทธ์ ที่มั่นใจแล้วว่าจะผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน2. เป็นแผนปฏิบัติการที่ไม่มีจุดอ่อน3.เป็นแผนปฏิบัติการที่มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ แล้วว่า จะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนหรือ นำไปสู่การแก้ปัญหา พัฒนาการเรียนการสอนสิ่งที่โรงเรียนต้องการพัฒนา2.1 พัฒนาครู ให้เป็นผู้มีความรู้ และสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร ( ICT ) , E-Learning และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข2.2 พัฒนาระบบการจัดการข้อมูล สารสนเทศ การใช้ข้อมูลต่างๆ ที่เอื้อต่อการทำงานของบุคลากร และการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM)2.3 พัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนอันจะก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร ( ICT ) , E-Learning2.4 พัฒนาโรงเรียน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่ได้มาตรฐานและเหมาะสมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นที่ยอมรับ ศรัทธา และเป็นต้นแบบของโรงเรียนอื่นและชุมชน2.5 สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ที่เข้มแข็งของผู้ปกครองและชุมชนโครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน- การพัฒนาการแนะแนวการศึกษา- กิจกรรมชุมนุม- กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีโครงการบริหารและการจัดการศึกษา- การพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา- การวัดผล ประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน- การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียน- การนิเทศการเรียนการสอน- การรับนักเรียนและจัดทำสำมะโนผู้เรียน- การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชนและสถานศึกษาอื่น- การพัฒนาศักยภาพครูผู้สอน
สรุปความรู้จากกลุ่มที่ 11
การวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา- เป็นโครงการ การประชุมเชิงปฏิบัติการที่ดี เพื่อครู และผู้บริหารนำแนวทางนี้ ไปพัฒนาการศึกษาระดับศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา สู่การพัฒนาระดับโรงเรียน
-จากข้อมูลผลการประเมินระดับชาติ และการประเมินระดับเขตพื้นที่ ระดับโรงเรียน ให้นำข้อมูลมาพัฒนา และปรับปรุง ให้เกิดประโยชน์
- ท่านรู้ข้อมูลโรงเรียนของท่านหรือยัง มีข้อมูลจะบอกอะไรบ้างจุดยืน ข้อมูลที่จะให้เรารู้ว่า เราอยู่ตรงไหน อย่างไรจุดเด่น / จุดด้อย ส่วนที่สามารถจะโชว์ แสดง เป็น Best Practiceเป้าหมาย / ทิศทางการพัฒนา / ปรับปรุง สามารถจะกำหนดเป้าหมาย ทิศทาง หรือไปปรับปรุงได้ความคาดหวัง การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนจากข้อมูลพื้นฐาน และข้อมูลการประเมิน
1. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลผลการประเมินแยกตามวิชา / สาระ ภาพรวม เขตพื้นที่ โรงเรียน นักเรียน
2. ปรับแผน
3. กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ
4. ยกระดับคุณภาพสามารถสร้างมูลค่า เพิ่มในตัวเด็ก พัฒนากลุ่มเด็ก แยกเด็กเป็นกลุ่มเก่ง ปานกลาง และอ่อนการคำนึงถึงผลการประเมินคุณภาพภายนอก จาก สมศ. รางวัลความสำเร็จ เป้าหมายที่สำคัญคือตัวเด็กนักเรียนการจัดการเรียนการสอน -เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ- เน้นอ่านคล่อง เขียนคล่องการวัดผลประเมินผล - เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ- ประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment)การประกันคุณภาพภายใน - คำนึงถึงตัวชี้วัด ตามมาตรฐานการเรียนรู้ - มีการดำเนินการตามระบบ PDCA- SIP (School Implement Plan )-SAR (Self Assessment Report)- CAR ( Classroom Action Research)บทบาทผู้บริหาร- ผู้นำการเปลี่ยนแปลง- ผู้นำการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนบทบาทของครู ในการขับเคลื่อน
1. ศึกษาข้อมูลด้านการเรียนการสอน
2. คุณรู้จักนักเรียนตามระดับคุณภาพ แยกนักเรียน
3. ช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มอ่อน
4. นักเรียนกลุ่มเก่ง พัฒนาสภาพการณ์ปัจจุบันและปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็ก
- ด้านบริหารจัดการ
- ด้านการเรียนการสอน
- ความพร้อมปัจจัยสนับสนุน
- การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
สรุปความรู้จากกลุ่มที่ 12
การประเมินคุณภาพการศึกษา การประเมินคุณภาพการศึกษา เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา แต่จะเน้นการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย/คณะ/วิทยาลัย กับตัวบ่งชี้คุณภาพในทุกองค์ประกอบของคุณภาพว่า การดำเนินงานเป็นไปตามเกณฑ์และมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดมากน้อยเพียรไร โดยจัดเป็นระดับของการบรรลุเป้าหมาย
1 หลักการประเมินคุณภาพ
เนื่องจากการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของอุดมศึกษาเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งเพื่อความอยู่รอด การพัฒนา และความสามารถในการแข่งขันทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของประเทศ เครื่องมือสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาดังกล่าวข้างต้นอย่างต่อเนื่องก็คือ การประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งต้องครอบคลุมทั้งการประเมินคุณภาพภายนอกสถาบันอุดมศึกษา และการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษา การประเมินคุณภาพภายนอก มีหลักการสำคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้
1) เป็นการประเมินเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการ ตัดสิน การจับผิด หรือการให้คุณ - ให้โทษ
2) ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรม โปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง ( Evidence - base ) และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (Accountability)
3) มุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตรมากกว่าการกำกับควบคุม
4)ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกษา จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
5)มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษาของชาติตามที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 โดยให้เอกภาพเชิงนโยบาย แต่ยังคงมีความหลากหลายในทางปฏิบัติที่สถาบันสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็มตามศักยภาพของสถาบันและผู้เรียน2 แนวทางในการประเมินภายใน
1) การประเมินภายในเริ่มด้วยการศึกษาตนเองของมหาวิทยาลัย / คณะ / วิทยาลัยที่รับผิดชอบ
2) ประเมินตามภารกิจหลักทั้ง 4 ประการ ของมหาวิทยาลัย / คณะ / วิทยาลัย
3) ผู้บริหาร / คณาจารย์ และนักศึกษา มีส่วนร่วมในการประเมิน
4) ประเมินเพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
3 วัตถุประสงค์การประเมินคุณภาพวัตถุประสงค์ทั่วไป
1) เพื่อให้ทราบระดับคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาในการดำเนินภารกิจด้านต่างๆ
2)เพื่อกระตุ้นเตือนให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาการศึกษา และประสิทธิภาพการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง
3)เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
4) เพื่อรายงานสถานภาพและพัฒนาการในด้านคุณภาพและมาตรฐานของสถาบันอุดมศึกษาต่อสาธารณชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น